5 สาเหตุใหญ่ๆ ที่พบจาก การรั่วซึมสระว่ายน้ำ โดยถ้าพบว่าน้ำที่อยู่ในสระหายไปวันละ มากกว่า 2-3 เซนติเมตรของระดับน้ำภายในหนึ่งวันหรือ 10 เซนติเมตรต่อการลดระดับน้ำภายในหนึ่งอาทิตย์ เราพบว่าสระว่ายน้ำของท่านอาจจะมีปัญหาสระว่ายน้ำรั่วซึม เราขอจำแนก การรั่วซึมสระว่ายน้ำ เป็น 5 หัวข้อดังนี้

  • ปัญหาในอุปกรณ์หรือ mechanical issue
  • ปัญาการรั่วซึมที่เกิดจากโครงสร้างของสระ
  • ปัญหาจากระบบน้ำ
  • ปัญการรั่วซึมจากท่อที่แตก
  • ปัญหาจุดเชื่อมต่อท่อมีปัญหา

ปัญหาการรั่วซึมจากอุปกรณ์

เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในสระว่ายน้ำเช่น อุปกรณ์เติมน้ำอัตโนมัติ หรือระบบน้ำวนที่ใช้ในสระว่ายน้ำ หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการกำจัดคราบตะกอนในสระ ระบบปั๊มน้ำ ซึ่งถ้ามีการเสียหายในอุปกรณืเหล่านี้ย่อมเป็นผลให้เกิดการรั่วซึมในสระว่ายน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาการรั่วซึมที่มากจากโครงสร้างสระว่ายน้ำ

เป็นที่ทราบกันดีว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นไม่สามารถจะกันน้ำหรือ waterproof ได้ 100% และการเกิดปัญหาในเชิงโครงสร้างเช่น รอยร้าว รอยแตกหรือรอยต่อคอนกรีตที่ไม่ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์หรือวัสดุป้องกันน้ำย่อมเกิดการรั่วซึมได้และการซ่อมทำได้ยาก

ปัญหาหารรั่วซึมที่อยู่ใต้ระบบท่อใต้พื้นสระว่ายน้ำ

ระบบท่อใต้พื้นสระว่ายน้ำนั้นมีการวางระบบท่อที่ซับซ้อน หลังการใช้งานที่ยาวนานเกิดการกัดกร่อน เป็นผลให้ท่อแตก ร้าวหรือรั่วซึมใต้ระบบพื้นสระว่ายน้ำ ต้องใช้อุปกรณืตรวจจับการรั่วซึมหรือ sonar leak detective device ในการตรวจสอบและแก้ไขต่อไป

ปัญหาท่อและข้องอที่แตกรั่วซึม

แก้ไขได้โดยการสกัดและเปลี่ยนท่อที่แตก

ปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างสระว่ายน้ำ

ปัญหาหรือข้อบกพร่องที่พบได้ในงานก่อสร้างสระว่ายน้ำทั้งขณะก่อสร้างและหลังจากใช้งานแล้วมีมากมายนับไม่ถ้วนเนื่องจากสระว่ายน้ำนั้นเกี่ยวข้องกับหลากหลายวัสดุก่อสร้างอีกทั้งมีค่าบำรุงรักษาที่จำเป็นต้องดูแลตลอดอายุการใช้งาน ในบทความนี้เราจะมุ่งไปที่การก่อสร้างในส่วนของโครงสร้างและวัสดุตกแต่งเท่านั้นแต่จะไม่เข้าไปพูดถึงส่วนที่เกี่ยวกับงานระบบและอุปกรณที่ซับซ้อน โดยจะขอแยกส่วนของงานระบบไว้อีกบทความนึง

ก่อนที่จะมาร่ายยาวกันถึงปัญหาที่ต้องพบเจอในการก่อสร้างสระว่ายน้ำนั้น เรามาทำความเข้าใจก่อนถึงการออกแบบสระว่ายน้ำเชิงโครงสร้าง เราพบว่าโครงสร้างของคอนกรีตนั้นต้องรับแรงหลายทาง ดังนี้ แรงดันดินด้านข้าง แรงดันน้ำที่กระทำกับสระว่ายน้ำด้านใน แรงดูดที่เกิดจากการดูดน้ำออกจากสระ จะเกิด negative pressure หรือว่าน้ำหนักของน้ำที่กระทำกับโครงสร้างทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ

เป้าหมายของการออกแบบสระว่ายน้ำนั้นคือ โครงสร้างแข็งแรงต้านทานได้ทุกสภาวะการใช้งาน ไม่มีการรั่วซึมหรือการไหลออกของน้ำผ่านทางตัวโครงสร้างหรือแม้แต่อุปกรณต่างๆ โครงสร้างนั้นต้องทนทานต่อการเกิดสนิมและไม่มีปัญหาการเสื่อมสภาพในระยะยาว

ระบบกันซึมสระว่ายน้ำ

หลังจากหล่อผนังและพื้นคอนกรีตเรียบร้อยแล้วและรอยต่อได้ทำการติดตั้ง วอเตอร์สต๊อป เรียบร้อยแล้วก็มาถึงการทำระบบกันซึมตัวสระว่ายน้ำ (Waterproofing for swimming pool) ทั่วบริเวณทั้งผนังและพื้น ควรรอให้คอนกรีตแห้งตัวเป็นเวลา 14 วันเป็นอย่างน้อยก่อนทำระบบกันซึม การทำระบบกันซึมสระว่ายน้ำจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุกันซึมที่ดีและเหมาะสมเนื่องจากสระว่ายน้ำนั้นมีการแช่น้ำตลอดเวลาและการแก้ไขหรือซ่อมแซมมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการเลือกวัสดุกันซึมสำหรับสระว่ายน้ำจึงเป็นสิ่งทีควรคำนึงมากเป็นพิเศษ เราจึงแนะนให้มีการใช้วัสดุกันซึม 2 ชั้นเพื่อป้องกันการรั่วซึมเป็น 2 เท่า ดังนี้

  1. ระบบกันซึมชนิดผ้าใยกันซึม (membrane waterproofing) เป็นลักษณะม้วนทักทอโดยสามารถยึดติดกับผิวคอนกรีตด้วยการใช้ปูนกาวปูกระเบื้อง ผ้าใยกันซึมนี้ สามารถทนทานต่อการยืดหยุ่น การบิดตัว หรือการขยายหดตัวของโครงสร้างสระว่ายน้ำเมื่อมี load มากระทำ ทั้งยังไม่ให้น้ำหรือไอน้ำรอดผ่าน ผ้าใยกันซึมได้ การติดตั้งให้ overlap 5-10 cm ระบบกันซึมแบบนี้ไม่สามารถหาซื้อตามท้องตลาดหรือร้านวัสดุก่อสร้างได้ มักจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และกันซึมแบบนี้ดีกว่าระบบทาหรือเคลือบมากเนื่องจากทนทานและกันน้ำได้แน่นอนทุกตารางเมตรที่ทำการปูแถมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบอื่น
  2. ระบบกันซึมชนิดทา (coating type waterproofing) เป็นกันซึมชนิดซีเมนต์เบส 2 ส่วนผสม การติดตั้งใช้แบบทาลงบนพื้นผิว 2 หรือ 3 เที่ยวตามการออกแบบและความลึกของผนังสระว่ายน้ำ กันซึมแบบนี้ขึ้นอยู่กับการผสมน้ำยาและการทาแต่ละเที่ยวว่ามีความหนาบางมากน้อยเพียงไร

เมื่อติดตั้งระบบกันซึมในสระว่ายน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการบ่มตัววัสดุตามเวลาและวิธีการที่ระบุไว้ แล้วรอเซ็ตตัวอย่างน้อย 5 วันก่อนที่จะทำการปูกระเบื้อง ควรตรวจสอบระยะเวลาบ่มตัวกับผู้ผลิตกันซึม การปูกระเบื้องทันทีนั้นอาจจะได้รับผลเสียตามมา เช่น กระเบื้องหลุดร่อน เกิดการทรุดของพื้นผิว เป็นต้น

การตรวจสอบการรั่วซึมก่อนการปูกระเบื้อง

เมื่อทำการติดตั้งระบบกันซึมเรียบร้อยแล้ว ถ้าต้องการตรวจสอบน้ำรั่ว เราควรทำก่อนการปูกระเบื้อง การทดสอบการรั่วซึมในสระว่ายน้ำ เราจะใช้การขังน้ำให้เต็มและเดินระบบสระว่ายน้ำเพื่อให้มีแรงดันจริงตามการใช้งานจริง โดยที่นิยมกันคือขังน้ำและเดินระบบไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อทำการตวรจสอบการรั่วซึมของสระว่าน้ำ โดยถ้าน้ำที่ขังไว้มีการลดระดับลงอย่างมีนัยะสำคัญ ก็ควรทำการแก้ไข โดยมุ่งไปที่รอยร้าว รอยต่อ รอยเชื่อมอุปกรณ์ ท่อต่าง ๆ แล้วแก้ไขเรื่องการรั่วซึม หรือถ้าเป็นรั่วซึมโครงสร้างเช่น โครงสร้างสระมีรอยร้าวหลังการใส่น้ำเต็มระดับก็สามารถซ่อมแซมด้วยการซ่อมโครงสร้าง epoxy injction หรือ polyurethne injection น้ำที่ลดลงไม่ควรมากจนเกินปกติของน้ำที่ระเหยออก ถ้ามีการลดลงมากจึงควรหารรอยรั่วให้พบและทำการซ่อมแซม

กรณีเมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบการลดระดับที่มากเกินปกติ ก็สามารถทำการปูระเบื้องได้

การแก้ไขการรั่วซึมในสระว่ายน้ำ

กรณีที่น้ำรั่วซึมตามรอยร้าว รอยแตก รอยแยก และสระว่ายน้ำไม่ได้ฝังในดินหรือโครงสร้างสระโผล่ขึ้นมาเหนือดิน โดยที่เราเห็นรอยรั่ว รอยซึมน้ำชัดเจน มีคราบน้ำรอบสระ เราสามารถซ่อมการรั่วซึมนี้ได้โดยวิธีการอัดน้ำยาหลุดน้ำหรือเรซิ่นที่หยุดน้ำชนิด polyurethane foam injection หรือ epoxy injection กรณีที่รอยร้าวแห้ง การแก้ไขแบบนี้ ไม่ต้องเข้าไปทำอะไรภายในสระว่ายน้ำ แต่ซ่อมภายนอกสระว่ายน้ำ การแก้ไขน้ำรั่วสระว่ายน้ำวิธีนี้ จำเป็นต้องเห็นคราบน้ำที่ซึมออกมา เพื่อที่จะอัดน้ำยาไปตามรอยร้าวที่เห็น ดังนั้นมีหลายสระที่ส่วนมากจะฝังลงไปใต้ดินและไม่สามารถเดินสำรวจภายนอกสระได้ แบบนี้การซ่อมต้องทำการรื้อกระเบื้องภายในสระแล้วจึงทำระบบกันซึมเต็มรูปแบบ เทสน้ำอีกครั้ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

กาวแปะกระเบื้องใต้น้ำ (Epoxy Resin) เป็นกาวอีพ็อกซี่สองส่วนผสม ประกอบด้วย อีพ็อกซี่เรซิ่น และสารเติมแต่งพิเศษ ให้แรงยึดเกาะดีเยี่ยม ใช้เป็นมอร์ตาร์สำหรับงานฉาบซ่อม และใช้เป็นกาวสำหรับ การติดยึดได้เป็นอย่างดี

หลังจากทำการซ่อมน้ำรั่วซึมแต่ละวิธีแล้ว น้ำยังสามารถเบี่ยงทิศทางการซึมไปซึมจุดอื่นที่มีรอยร้าวหรือรอยรั่วอื่นๆได้ จึงจำเป็นต้องตามซ่อม จนกว่าโครงสร้างจะไม่พบรอยร้าว เมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ และทำการตรวจสอบทุกๆ 3-5 ปี

การปูกระเบื้องและยาแนวสระว่ายน้ำ

การปูกระเบื้องสระว่ายน้ำ สิ่งที่เกี่ยวข้องสองวัสดุที่สำคัญในการป้องกันการรั่วซึมก็คือ ปูนกาวปูกระเบื้องและยาแนวกระเบื้อง หลักการง่ายๆคือ เลือกวัสดุปูนกาวปูกระเบื้องชนิดที่ใช้กับสระว่ายน้ำ ซึ่งจะมีความเหนียวและทนทานกว่ากาวปูทั่วไป ทั้งยั้งมีความทึบน้ำมากกว่า เพราะฉะนั้นให้เลือกซื้อวัสดุตามที่เสปคำหนด เช่นเดียวกันกับกาวยาแนว ให้เลือกกาวยาแนวกระเบื้องที่มีคุณสมบัติใช้งานสระว่ายน้ำ ซึ่งจะทนทานกว่าแบบทั่วไป

การปูกระเบื้องนั้นให้ปูด้วยปูนกาวทั้งหมด โดยระดับและดิ่งต้องทำการตกแต่งมาแล้วด้วยปูนมอร์ต้าร์ ห้ามปูแบบปูนทรายหรือแบบซาลาเปา เนื่องจากจะทำให้เกิดการหลุดร่อนได้ง่าย แถมระดับก็อาจจะเพี้ยนตามควาชำนาญของช่างผู้ปูกระเบื้อง กรณีที่พื้นผิวที่ต้องการปูนั้นมีความเพี้ยนทั้งดิ่งและระดับให้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง

 

                                                                             

 

สนใจติดต่อ เวิลด์พูลส์ ดีเวลล็อปเมนท์ ผู้นําด้านการจําหน่าย อุปกรณ์สระว่ายน้ำทุกยี่ห้อ Emaux , Astral Pool Hayward , Raion , Jacuzzi , Kripsol , Pool & Spa , Dolphin ด้วยความหลากหลาย Brand ของสินค้าและแต่ละประเภทของสินค้า ถังกรองสระว่ายน้ำ ปั๊มสระว่ายน้ำ เครื่องเกลือสระว่ายน้ำ ไฟใต้น้ำ Fitting อุปกรณ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ เครื่องดูดตะกอนอัตโนมัติ และ เคมีสระว่ายน้ำ คลอรีน 90 % คลอรีน 70 % น้ำยากำจัดตะไคร่น้ำ Swimtrine Pooltrine สารตกตะกอน ทำให้น้ำสระว่ายน้ำใส สารพัดด้านเคมี เวิลด์พูลส์ ดีเวลล็อปเมนท์ พร้อมให้บริการและให้ปรึกษากับลูกค้าทุกท่าน

บริษัท เวิลด์พูลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

261/5 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
053-204 446-7
095-6815757
053-204 465
worldpoolscnx@gmail.com